Chapter 5 คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
สถานการณ์ปัญหา(Problem-based learning)
โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ได้รับการบริจาคห้องคอมพิวเตอร์ใหม่
หลังจากที่ได้มีโครงการผ้าป่าซื้อคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียน ซึ่ง
ผอ.โรงเรียนจึงได้มีนโยบายให้ครูทุกระดับชั้นพัฒนาสื่อการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์
หรือหากใครที่ยังไม่สามารถสร้างเองได้ก็ให้บูรณาการคอมพิวเตอร์ในการเรียนการ
สอน
และเปิดช่วงเวลาให้นักเรียนเข้ามาใช้คอมพิวเตอร์ได้
ผลจากการประเมินการใช้คอมพิวเตอร์ของโรงเรียนในปีที่ผ่านมาพบว่า
ครูพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและนำเสนอเนื้อหาการเรียนการสอนโดยตรงไปยังผู้เรียน
โดยในบทเรียนคอมพิวเตอร์มีการทดสอบ การนำเสนอเนื้อหา การทดสอบหลังเรียน
บทบาทผู้เรียนก็ยังเป็นเพียงแค่การท่องจำเนื้อหา
ซึ่งไม่ส่งเสริมกระบวนการคิดปัญหาอีกประการที่พบคือ
เมื่อครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์ก็มักจะใช้เพื่อเล่นเกม ดูหนัง
สนทนาออนไลน์ และ Social
media โดยเฉพาะ face book ซึ่งไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการแสวงหาและสร้างการเรียนรู้ของตนเอง
ภารกิจ
1. นักศึกษาจะมีแนวทางในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาของโรงเรียนบ้านหนองใหญ่อย่างไร
: ครูต้องเปลี่ยนลักษณะการใช้สื่อคอมพิวเตอร์จากเดิม ใช้เพื่อ “ถ่ายทอด และนำเสนอเนื้อหา” เป็น ใช้เพื่อเสนอ“เกมส์ หรือปัญหาจากสถานการณ์ในชีวิตจริงที่เชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหา”
ซึ่งในระหว่างการแก้ปัญหานั้นๆ
ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน ครู และเพื่อนร่วมชั้นด้วย
สิ่งนี้จะช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะต่างๆไปพร้อมกัน เช่น
การใช้ภาษา การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ทักษะการให้เหตุผล เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ ยังช่วยสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน
และคำตอบของกลุ่มตนอีกด้วย และที่สำคัญคือ
ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านประสบการณ์จากการแก้ปัญหาดังกล่าว
(บิวสวยโคตรๆ : เพิ่มเติมได้นะ)
2. บทบาทของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เป็นอย่างไร
: การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางปัญญา เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ
ประกอบด้วย
(1)
Discovery tools (2) Knowledge creation tools (3) Communication tool
2.1 เครื่องมือค้นพบ (Discovery
tools) :
เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการเสาะแสวงหา
สารสนเทศ การค้นหาข้อมูล
เพื่อนำมาซึ่งการค้นพบสารสนเทศหรือความรู้ที่ต้องการเครื่องมือที่ช่วยในการค้นพบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
-Seeking
tool: เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการค้นหาสารสนเทศ
การระบุตำแหน่งและนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเช่น
Search
engines, index, maps เป็นต้น
-Collecting
tool เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสะสม
เก็บรวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง: Downloading, saving,
bookmaking เป็นต้น
2.2 เครื่องมือสร้างความรู้(Knowledge
creation tools):
เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการสร้างความรู้ของผู้เรียน
ที่เกิดขึ้นในความจำระยะสั้น (Short-term memory) เป็นระยะที่จะต้อง
ประมวลผลสารสนเทศต่างๆที่รับผ่านเข้ามาจากการบันทึกผัสสะ
เพื่อจัดระเบียบ หมวดหมู่ สร้างความสัมพันธ์ เครื่องมือสร้างความรู้มี 3 ชนิดคือ
-Organizing
tool : เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดกลุ่มสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นหมวดหมู่
การเชื่อมโยงความคิดยอดของสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง: Mind mapping,
flow chart, constructing table เป็นต้น
-Integrating
tool: เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดของผู้เรียน
ตัวอย่าง:
Annotation
or typing note for information encountered: Mapping tools, Simulations
-Generating
tool: เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการสร้างสิ่งต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม
เนื่องจากอาศัยเพียงแค่สมองคิด จิตนาการคงไม่เพียงพอที่จะท
าให้ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย เครื่องมือนี้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายเช่น Papert
(1991) ได้สร้างLego, Micro world เป็นต้น
2.3
เครื่องมือการสื่อสาร (Communication tool):
เป็นเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการสื่อสาร
สนทนาแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและผู้สอน
เพื่อสร้างชุมชนในการเรียนรู้และสังคมของผู้เรียน เครื่องมือการสื่อสารมี 2 ลักษณะคือ
-
Synchronous communication tools ใช้สนับสนุนปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง: Chat, online conference, MSN เป็นต้น
-
Asynchronous communication tools ใช้สนับสนุนปฏิสัมพันธ์ที่
ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ตัวอย่าง: Web board, e-mail
3. ให้เสนอรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ตามสาระการเรียนรู้ที่นักศึกษารับผิดชอบ
ใช้คอมพิวเตอร์เป็นครู คือ
ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้
และเนื้อหาการเรียนการสอนไปยังผู้เรียนโดนตรง โดยนำเสนอการเรียนการสอน กิจกรรม
การทดสอบผู้เรียน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดปัญหาทางคณิตศาสตร์
หรือสถานการณ์ปัญหาไปสู่ผู้เรียนหรือผู้แก้ปัญหา ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ทางคณิตศาสตร์
ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้ช่วย
โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวช่วยในการทำงานต่างๆ เช่น
ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นตัวช่วยในการคำนวณให้มีความแม่นยำมากขึ้น
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นนักเรียน
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เรียนคือวิธีการแบบเปิด (Open-ended approach) ที่อาศัย
ความสามารถของผู้เรียนในการสร้างความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการใช้คอมพิวเตอร์
วิธีการนี้ผู้สอนสามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนของตนเองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น