Chapter
9 การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้
ภารกิจเดี่ยว
สรุปข้อความรู้
นอกจากการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพแล้ว
ผู้สอนควรเข้าใจถึงหลักการใช้สื่อ
ประเภทต่างๆ
เพราะสื่อแต่ละประเภทนั้นมีคุณลักษณะและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน
ดังนั้นเราควรรู้จักวิธีการและหลักการใช้สื่อเพื่อให้สามารถดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่น
การเตรียมสำหรับจัดประสบการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้นผู้สอนควรดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมและสิ่งที่
จะสนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายและเกิดการเรียนรู้ที่ดี
ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเตรียมความพร้อมของสื่อและวัสดุ
อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
ความพร้อมของผู้เรียน
และกระบวนการตามบทเรียนที่วางไว
การใช้สื่อประเภทเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้น
ผู้สอนจะใช้สื่อประกอบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ
บทเรียน นำเสนอบทเรียน
กระตุ้นความสนใจในการเรียน และสามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนควรรู้หลักการในการใช้สื่เพื่อให้การดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้สื่อประเภทวิธีการ
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เปลี่ยนมามุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทในการ
ลงมือกระทำ คิดและสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง
ดังนั้นผู้สอนจึงควรเลือกใช้สื่อประเภทวิธีการที่
สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดังตัวอย่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ดังต่อไปนี้
ภารกิจกลุ่ม
สถานการณ์ปัญหา(Problem-based learning)
ครูพลกิต
เป็นครูที่พึ่งมาบรรจุใหม่หลังจากที่รายงานตัวต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจำจังหวัดที่สังกัดแล้วก็ไปรายงานตัวต่อโรงเรียนซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด
ผู้อำนวยการโรงเรียนมอบหมายให้ครูพลกิตสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเป็นห้องเด็กเก่งด้วย ยิ่งทำให้ ครูพลกิตรู้สึกไม่มั่นใจในการสอนว่าตนเองจะสามารถทำได้ดีหรือไม่และนักเรียนจะสนุกหรือสนใจในวิธีการสอนของตนเองหรือไม่
ที่สำคัญคือนักเรียนห้องนี้มีลักษณะที่ชอบค้นคว้า หาความรู้ กิจกรรมที่เน้นให้ปฏิบัติได้ลงมือกระทำ
ฝึกคิดหรือที่ท้าทายการทำงานนักเรียนจะชอบมาก อีกทั้งยังเรียนพิเศษแบบเข้มข้นเนื้อหาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่นักเรียนจะรู้และทำความเข้าใจอย่าลึกซึ้งมาก่อนแล้ว
แต่ที่สังเกตได้ชัดคือนักเรียนจะแข่งกันเรียน ทำงานกลุ่มไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนฝากความหวังไว้ที่ครูพลกิตเพื่อช่วยพัฒนาและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 ห้องนี้ให้ได้
ภารกิจ
1. ครูพลกิตจะมีหลักในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ให้มี
ประสิทธิภาพได้อย่างไร
การที่ครูพลกิตจะสามารจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมดังนี้
1. การเตรียมสื่อการเรียนรู้
ผู้สอนจะต้องเตรียมความพร้อมของสื่อให้มีความสอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่ได้ออกแบบไว้ ในการใช้สื่อนั้นผู้สอนอาจแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ก่อนการจัดการเรียนรู้
ระหว่างการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู
1. ก่อนการจัดการเรียนรู้
1.1
ผู้สอนและผู้เรียนควรมีการศึกษาวิธีการใช้งานสื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้ให้
เกิดความช
านาญ
1.2
ตรวจสอบความพร้อมของสื่อว่าสามารถใช้งานได้จริง
1.3
เก็บสื่อและวัสดุการเรียนให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
1.4
กรณีใช้สื่อที่มีเสียงประกอบหรือวีดิทัศน์
ควรทดสอบว่าสามารถแสดงผลได้
ตามที่ต้องการหรือไม่
1.5
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสื่อต่างๆนั้นผู้เรียนสามารถมองเห็นหรือได้ยินอย่างทั่วถึง
ในชั้นเรียน
2. ระหว่างการจัดการเรียนรู้
2.1
มีการเน้นสาระส าคัญ
ความคิดยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนใส่ใจด้วยการเขียนบน
กระดานหรือเน้นลงในสื่อ
3. หลังการจัดการเรียนรู้
3.1
ปฏิบัติตามที่ก าหนดในบทเรียนด้วยการอภิปราย การท
าโครงงานหรือกิจกรรม
อื่นๆที่ให้ผู้เรียนได้น
าความรู้ไปใช้
2.
การเตรียมสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
ผู้สอนแบบมืออาชีพ
จะต้องกำหนดหรือจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน
สามารถสร้างประสบการณ์เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าการจัดการเรียนรู้นั้นจะเกิดในห้องเรียน
ก็ต้องเตรียมความพร้อมของห้องเรียนให้น่าเรียน
เอื้อต่อการจัดกิจกรรมกลุ่มหรือกิจกรรมการ
เรียนรู้อื่นๆ
บางวิชาอาจต้องใช้ห้องปฏิบัติการดังเช่น วิทยาศาสตร์และภาษา ครูจะต้องเตรียมความ
พร้อมของห้องปฏิบัติการเหล่านั้นให้สามารถใช้การได้ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ดังเช่น แสง
ไฟ
เครื่องเสียง ปลั๊กไฟ หรืออุปกรณ์ทดลองเฉพาะ เป็นต้น
ให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีสภาพที่พร้อมใช้
งานได้จริง
การเตรียมผู้เรียน
เมื่อผู้สอนเริ่มจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนแรกคือการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้อะไรได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนนั้นเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมในการเรียนอย่างไร
ผู้สอนจะดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้เพราะผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ครูพลกิตไ้ด้รับมอบหมายให้สอนเป็นเด็กที่มีการเตรียมความพร้อมอยู่แล้ว
ครูพลกิจควรที่จะเตรียมผู้เรียนโดยแนะนำนักเรียนไปก่อนว่าครั้งต่อไปจะสอนเรื่องอะไรนักเรียนจะได้ไปศึกษามาล่วงหน้า
การดำเนินการตามบทเรียน
หลังจากที่ได้เตรียมสื่อและผู้เรียนไปแล้ว ครูพลกิต
ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.ให้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ชัดเจน ผู้สอนควรอธิบายภารกิจการเรียนรู้หรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนทราบถึงแนวทางปฏิบัติในการเรียน
และจะต้องตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม
2.การกำหนดขั้นตอนในการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องวางขั้นตอนของกิจกรรมให้ง่ายและขับเคลื่อนให้ผู้เรียนสามารถด
าเนินการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมายของกิจกรรม
3.การสร้างแรงจูงใจในการเรียน
ในการเรียนผู้เรียนจะต้องใส่ใจกับภารกิจที่ได้รับผู้สอนสามารถสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความตระหนักและตื่นตัวในการเรียน
ด้วยการชี้น าให้ผู้เรียนเห็นถึงมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับภารกิจทั้งประเด็นและแนวทางแก้ปัญหา
การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างที่อยู่รอบตัวเพื่อค้นหาแนวทางแก้ปัญหา
4.การตั้งคำถามในระหว่างเรียน การตั้งคำถาม เป็นเทคนิคที่ผู้สอนสามารถใช้ในการกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับการเรียน
การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทั้งยังเป็นการประเมินเพื่อพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียนในขณะเรียนได้เป็นอย่างดี
2. ให้วิเคราะห์ว่าจะเลือกใช้สื่อหรือวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใดจึงจะสอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสถานการณ์ที่กำหนดให้
นักเรียนห้องนี้มีลักษณะที่ชอบค้นคว้า
หาความรู้
กิจกรรมที่เน้นให้ปฏิบัติได้ลงมือกระทำ
ฝึกคิดหรือที่ท้ายทายการท างานนักเรียนจะชอบมาก อีกทั้ง
ยังเรียนพิเศษแบบเข้มข้นเนื้อหาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่นักเรียนจะรู้และท
าความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
มาก่อนแล้ว
แต่ที่สังเกตได้ชัดคือนักเรียนจะแข่งกันเรียน ท างานกลุ่มไม่ค่อยประสบความส าเร็จ
เท่าที่ควร
ซึ่งผู้อ านวยการโรงเรียนฝากความหวังไว้ที่ครูพลกิตเพื่อช่วยพัฒนาและแก้ปัยหาการ
เรียนรู้
การใช้สื่อมัลติมีเดียและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์
จากที่เด็กนักเรียนห้องนี้มีลักษณะที่ชอบค้นคว้า
หาความรู้
กิจกรรมที่เน้นให้ปฏิบัติได้ลงมือกระทำ
อีกทั้งยังเรียนพิเศษแบบเข้มข้นเนื้อหาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่นักเรียนจะรู้และทำาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมาก่อนแล้วจึงเลือกใช้สื่อประเภทมัลติมีเดียและโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เนื่องจากสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้
คอมพิวเตอร์ในการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนใ
น ข ณ ะ เ รี ย น รู้ได้
การใช้สื่อประเภทวิธีการ
จะเลือกใช้การเรียนแบบร่วมมือ
เนื่องจากว่าเด็กห้องนี้ขาดคุณลักษณะในการทำงานกลุ่ม ดังนั้นจึงควรจัดการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อให้เด็กได้เรียนร่วมกันเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้
รู้จักทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกันในการผสมผสาน
ความรู้ที่มีอยู่เดิมกับความรู้ใหม่
และค้นพบความหมายของสิ่งที่ศึกษาด้วยกลุ่ม โดยทำกิจกรรมใน
การสืบค้น
(Explore)
อภิปราย (Discuss) อธิบาย (Explain) สอบสวนแนวความคิดและแก้ปัญหา
ร่วมกันในกลุ่ม
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน การเล่าเรื่องรอบวง (Round robin) เป็นเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้เล่าประสบการณ์
ความรู้ สิ่งที่ตนก าลังศึกษา สิ่งที่ตนประทับใจให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น