ภารกิจเดี่ยว สรุปข้อความรู้
ปัจจุบันสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบที่นักออกแบบได้พัฒนาขึ้น
ซึ่งอาศัยพื้นฐานทฤษฎีในการออกแบบที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์ของการเพิ่มศักยภาพของการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ดังนั้นเมื่อพื้นฐานแนวคิดและการออกแบบที่แตกต่างกันของสื่อ
วิธีการประเมินสื่อจึงมีความแตกต่างกันด้วย
การประเมินสื่อการสอน
จากนิยามของสื่อการสอนที่เป็นเพียงตัวกลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้
มีอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าความรู้เป็นสิ่งที่หยุดนิ่ง
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากใครสามารถรับหรือจดจำความรู้ได้มากที่สุดก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดและนั่นคือเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ของครูการประเมินสื่อการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
จึงมีการประเมินดังนี้
การประเมินสื่อการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในสมองของผู้เรียน
การประเมินที่อาศัยข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นค่าคะแนนหรือตัวเลขอาจไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการรู้คิดภายในสมอง
ตลอดจนระบบสัญลักษณ์ของสื่อที่พิจารณาคุณลักษณ์ของสื่อในลักษณะที่เป็นภาพ เสียง
ที่ส่งผลต่อการประมวลสารสนเทศในกระบวนการรู้คิดของผู้เรียน ควรเพิ่มเติมข้อมูลเชิงคุณภาพ
จะช่วยให้สามารถนำมาปรับปรุงสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้
หรือสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้มีคุณภาพหรือประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ภารกิจกลุ่ม
สถานการณ์ปัญหา(Problem-based
learning)
ท่านเป็นศึกษานิเทศก์ซึ่งรับผิดชอบหน้าที่ในการพัฒนาครูเกี่ยวกับการออกแบบและผลิตสื่อวันหนึ่งมีครูสองคนมาปรึกษาว่าจะมีวิธีการที่ทำให้รู้ว่าสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพได้อย่างไร
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-ครูสายใจเป็นครูสังคมศึกษาได้พัฒนาชุดการสอน
-ครูสมหญิงเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
-ครูมาโนชเป็นสอนวิชาภาษาได้พัฒนาชุดสร้างความรู้
-ครูประพาสเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อใช้ในการเรียนของตนเอง
ภารกิจ
1. เลือกวิธีการประเมินคุณภาพสื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของสื่อของครูแต่ละคนพร้อม
ทั้งให้เหตุผล
-ครูสายใจ และ ครูประพาส ที่ได้ทำการพัฒนาชุดการสอน
และพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามลำดับ ควรเลือก“การประเมินสื่อการสอน” ในการประเมินคุณภาพสื่อ
เพราะสื่อทั้งสองต่างเป็นสื่อที่สอดคล้องกับแนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งเชื่อว่า
การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ซึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ซึ่งการเรียนรู้นั้นจะคงทนหากได้รับการเสริมแรง การฝึกหัด การทำซ้ำๆ เป็นต้น สังเกตได้จากสื่อทั้งสองมักจะมีแบบฝึกหัดก่อนเรียน-หลังเรียนเพื่อให้วัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากรับสื่อนั้นๆแล้ว
-ครูสมหญิง และ ครูมาโนช ที่ได้ทำการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
และพัฒนาชุดสร้างความรู้ตามลำดับ ควรเลือกวิธี “การประเมินสื่อการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้”ในการประเมินคุณภาพสื่อ
เพราะสื่อทั้งสองนั้นไม่สามารถประเมินในเชิงปริมาณได้เพียงอย่างเดียว
จำเป็นต้องสนใจการประเมินในเชิงคุณภาพด้วย เพื่อส่งเสริมกระบวนการรู้คิดหรือกระบวนการทางพุทธิปัญญา
(Cognitive
process) ซึ่งการเพิ่มการประเมินเชิงคุณภาพเข้ามานั้น
จะช่วยให้สามารถนำสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้หรือสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มาปรับปรุงให้มีคุณภาพหรือประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นได้
มีหลักการที่สำคัญที่ควรพิจารณา ประกอบด้วย (1) การประเมินด้านผลผลิต (2)
การประเมินบริบทการใช้ (3) การประเมินด้านความสามารถทางสติปัญญา (4)
การประเมินด้านความคิดเห็น (5) การประเมินผลสัมฤทธิ์
2. อธิบายข้อจำกัดของการประเมินสื่อการสอน
การประเมินสื่อการสอน
จะเป็นการประเมินข้อมูลในเชิงปริมาณเท่านั้น นั่นคือ
สนใจเพียงคะแนนของผู้เรียนจากการทำกิจกรรมหรือแบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเท่านั้น
การประเมินสื่อการสอนจึงไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อถ่ายทอดความรู้เป็น
สื่อหรือเทคโนโลยีทางปัญญา (Cognitive technology) ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมกระบวนการรู้คิดหรือกระบวนการทางพุทธิปัญญา
(Cognitive process) หมายความว่า
การประเมินสื่อการสอนไม่สามารถบอกได้ว่าผู้เรียนรู้สึกอย่างไรต่อสื่อ ไม่สนใจว่าสื่อนั้นสามารถกระตุ้นและสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดกับผู้เรียนได้หรือไม่
การประเมินสื่อการสอนจึงไม่ได้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
3. เปรียบเทียบความแตกต่างของแนวคิดการประเมินสื่อการสอน
สื่อการเรียนรู้และ
สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
การประเมินสื่อการสอน
|
การประเมินสื่อการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
|
สอดคล้องกับแนวคิด
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
|
สอดคล้องกับแนวคิด
กลุ่มพุทธิปัญญานิยม
|
บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้ที่รอรับความรู้
|
บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้แก้สถานการณ์ปัญหา
|
สื่อการสอนเป็นตัวกลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้
|
สื่อเป็นเทคโนโลยีทางปัญญา
(Cognitive
technology) ที่มุ่งเน้นการ
ส่งเสริมกระบวนการรู้คิด
|
ประเมินในเชิงปริมาณเท่านั้น
|
ประเมินในเชิงคุณภาพและปริมาณ
|
การประเมินไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนาสื่อที่มีประสิทธิภาพได้
|
การประเมินสามารถนำไปสู่การพัฒนาสื่อที่มีประสิทธิภาพได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น