สรุปข้อความรู้ Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่
การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน
การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ
การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
อาทิ
1.
ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2.
การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3.
การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
สามารถศึกษาได้จากแผนภาพด้านล่าง
สถานการณ์ปัญหา(Problem-based
learning)
ภายหลังที่รัฐบาลได้จัดการปฏิรูปการศึกษา
ซึ่งมีหัวใจส าคัญอยู่ที่ "การยกระดับคุณภาพประชากรของประเทศให้สูงขึ้น คือ
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ที่ต้องส่งเสริมและพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ ฝึกทักษะ กระบวนการคิด
การประยุกต์ความรู้และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์มีความสามารถในการแก้ปัญหา
ตลอดจนรู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ" มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้
ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้อย่างหลากหลาย สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ
และเหมาะสมกับยุคแห่งข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย
รวมไปถึงการทำให้การเรียนรู้นั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งยังเพื่อเป็นการเตรียมพัฒนาผู้เรียน
ให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูพันธุ์ใหม่
ท่านจะต้องปฏิบัติภารกิจต่อไปนี้
ภารกิจ
1. วิเคราะห์บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
1.1. สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล
: ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังลงทุนต่ำ
ดังนั้นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนการสอนอย่างยิ่งยวด
1.2 เกิดระบบการเรียนการสอนทางไกล
: ผู้เรียนและผู้สอนสามารถถตอบโต้กันได้แม้ว่าจะอยู่ห่างกัน
ผู้เรียนสามารถส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ตได้ ครู
สามารถตรวจงานให้คะแนนได้ แม้กระทั่งการชี้แนะด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-mail) หรือใช้ระบบกระดานข่าว (Bulletin Board System)
1.3 อำนวยความสะดวกในการสอน
: ครูสามารถเทคโนโลยีสารสนเทศในลักษะต่างๆ
เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำ น่าสนใจ
และมีความหมายกับผู้เรียน
1.4 ทำลายขีดจำกัดในเรื่องสถานที่
และเวลา : ผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน
ผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ต
โดยผู้สอนจะต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความรู้ ปฏิสัมพันธ์
คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ และทักษะต่างๆให้เกิดกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 สามารถจัดการเรียนรู้ได้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
:
ผู้สอนสามารถเลือกใช้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จมากที่สุด
2. วิเคราะห์หาวิธีการที่จะประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น
จะต้องคำนึงถึงเนื้อหาการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเรียนรู้เอง
ตามความสนใจและการมีส่วนร่วมกันในการเรียนรู้โดยยึดตัวผู้เรียนเป็นหลัก
ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีดังนี้
2.1ตั้งคำถามหรือพูดคุยเกี่ยวเรื่องที่ผู้เรียนชอบ/สนใจ
โดยกระตุ้นความสนใจด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น video, power point
เป็นต้น
2.2
นำเสนอสถานการณ์ปัญหาหรือภารกิจที่ผู้เรียนต้องอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์
และมีการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม โดยสามารถใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วย เช่น WebQuest,
Web-based Learning โดยผู้สอนจะต้องออกแบบอย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ
2.3 ให้ผู้เรียนวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและค้นหาคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
เช่น Website, Internet, Multimedia เป็นต้น
2.4 ให้ผู้เรียนร่วมมือและระดมสมองในการแก้ไขปัญหาเป็นกลุ่ม
มีการร่วมมือกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย
มีการแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ผ่านทางเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร เช่น Social Media, E-mail,
Chat room, weblog เป็นต้น
2.5 ให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานกลุ่มของตนเอง และช่วยกันสรุปบทเรียนทั้งชั้นเรียนที่ได้เรียนรู้มา
พร้อมทั้งสะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง สะท้อนการคิดของเพื่อนคนอื่น
และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ต่อยอดไปยังองค์ความรู้อื่น
หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอ เช่น
ใช้ Power point ในการนำเสนองาน, บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน
weblog, สรุปบทเรียนโดยใช้ mind map
3. ให้ท่านพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
ตามบริบทของโรงเรียนที่กำหนดให้ต่อไปนี้พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบการอธิบาย
โรงเรียนบ้านหนองงูเห่า เป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลในถิ่นธุระกันดาร
โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์สามเครื่อง มีโทรทัศน์ ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ เนื่องจากสื่อและเทคโนโลยีที่มีไม่เพียงต่อจำนวนนักเรียน
แนวทางการเลือกใช้เทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
ครูควรเป็นผู้นำเสนอหัวข้อ/ประเด็นคำถามให้นักเรียนเลือกเรียน โดยใช้เทคโนโลยี
เช่น วีดิทัศน์จากโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ (เช่น สารคดี,
รายการวิทยาศาสตร์) (หากเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวนักเรียน
อย่างเช่นธรรมชาติ หรือวิธีการได้มาซึ่งสิ่งหนึ่งๆอย่างเช่นไอน้ำ
จะดีมากเพราะเป็นสิ่งที่นักเรียนสามารถสัมผัสและมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม)
จากนั้นให้นักเรียนได้ลงมือแก้ไขปัญหา/เรียนรู้ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง
อาจจะโดยวิธีการทดลองหรือสังเกตจริงๆ จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปเป็นองค์ความรู้โดยใช้โปรแกรมหรือแอพลิเคชั่นในเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยผลัดเปลี่ยนกันทำ จากนั้นก็นำเสนอในชั้นเรียนเพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้เดียวกัน
ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบนี้ครูจะต้องคอยดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพราะนักเรียนต้องลงมือปฏิบัติจริงๆ
แต่จะไม่เข้าไปแทรกในกระบวนการคิดของนักเรียน
โรงเรียนมัธยมไฮโซเบตง เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมือง
มีความพร้อมทางด้านสื่อ เทคโนโลยี มีห้องคอมพิวเตอร์
มีระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
แต่ครูมีไม่เพียงพอเนื่องจากย้ายหนีเหตุการณ์ความไม่สงบ
แนวทางการเลือกใช้เทคโนโลยี
เนื่องจากจำนวนครูมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ
การศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเองจึงมีความเหมาะสมมากที่สุด
โดยการศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น
นักเรียนสามารถสืบค้น/ค้นคว้าหาข้อมูลที่นักเรียนต้องการเรียนรู้ได้เลย
โดยมีการตกลงกันเพื่อหาหัวข้อหรือปัญหาในการเรียนรู้
ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆทุกคนสนใจและอยากเรียนรู้
เพราะโรงเรียนมีความพร้อมในเทคโนโลยีและสื่อ
อีกทั้งนักเรียนยังสามารถระดมสอง/ปรึกษาพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้ผ่านทางเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
เช่น social media, chat room เป็นต้น
นำเสนอผลงานของตนเอง/กลุ่มของตนเอง
โดยใช้เทคโนโลยี เช่น power point เป็นต้น
และรวบรวมองค์ความรู้จากที่แต่ละกลุ่มได้มากให้เป็นองค์ความรู้ที่ตรงกัน
ซึ่งอาจจะสรุปโดยการใช้ mind mapping ซึ่งสามารถสร้างได้โดยแอพลิเคชั่น
imindmap ทั้งนี้ ครูจะต้องคอยดูแลนักเรียนอยู่ห่างๆ
และเพราะนักเรียนสามารถค้นหาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากเทคโนโลยีที่มีอยู่
จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีครูคอยควบคุมตลอดเวลา ดังนั้น
จำนวนครูที่มีน้อยจึงไม่เปนปัญหาต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
เทคโนโลยีสารนเทศทางการศึกษา โดยกลุ่มโจโจ้ซัง from Panwipa' Pornpirunroj
เรียบเรียงโดย วิจิตรา
เทศประสิทธิ์
563050133-3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น