ภารกิจเดี่ยว สรุปข้อความรู้ที่ได้จาก Chapter
8 การผลิตสื่อกราฟฟิคเพื่อการเรียนการสอนประเภทของวัสดุกราฟฟิค
กราฟิก (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า "Graphein" มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้นเมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใดๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียนและอักษรข้อความรวมกัน
วัสดุกราฟิกประกอบด้วย 2 คำ คือ วัสดุ+กราฟิก
วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น
กราฟิก หมายถึง การแสดงด้วยลายเส้น
วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว
ประเภทของวัสดุกราฟฟิค
สามารถดูได้จากแผนผังความคิดด้านล่าง
รูปภาพกับการเรียนการสอน
รูปภาพเป็นทัศนวัสดุซึ่งอาจจะเป็น ภาพวาด
ภาพถ่าย ภาพเขียน หรือมีบทบาทต่อการประกอบการเรียนการสอน
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าการใช้คำพูดในการอธิบายเพียงอย่างเดียว
ความหมายของ Visual
literacy
Visual literacy เป็นความสามารถในการเรียนรู้ที่จะแปลความหมาย ตีความ ข้อมูล
ข่าวสารจากภาพได้อย่างถูกต้องตลอดจนสามารถสร้างภาพ
หรือเขียนภาพนั้นขึ้นได้เองด้วย
(Heinich and Other, 1982)
องค์ประกอบสำคัญประการแรก
ที่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสาร ได้แก่ “รูปภาพ " ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าผู้เรียนสามารถให้ความสนใจได้ตรงจุดสำคัญตรงตามเนื้อหานั้นๆ หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา โดยช่วยให้ไม่หลงทาง
งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา พบว่า
แนวโน้มของการกวาดสายตามองภาพจะเริ่มจาก
ด้านซ้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมซ้ายด้านบน จากข้อมูลดังกล่าว ในการออกแบบภาพ
ผู้ออกแบบควรกำหนดตำแหน่งข้อมูลหรือส่วนที่สำคัญไว้ตรงที่บริเวณที่ตามองเห็นเป็นจุดแรก
การออกแบบการออกแบบและผลิตสื่อกราฟิก
ภาพที่ผู้สอนออกแบบเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน
ควรจะเป็นสิ่งที่เป็นแบบอย่างและยึดหลักการของ Visual
Literacy เช่น ภาพที่ออกแบบเป็น ป้ายนิเทศ ภาพโฆษณา ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีเท่านั้น
แต่ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดทำ ออกแบบวัสดุการสอนของตนเอง
ควรให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้
การจัดภาพ (Arrangement)
ความสมดุลของภาพ (Balance)
สี (Color)
ความมีชีวิตชีวา (Dynamism)
การเน้น (Emphasis)
การตรงต่อความเป็นจริง (Fidelity)
ความกลมกลืน (Graphic harmony)
การออกแบบป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศ
เป็นอุปกรณ์การจัดการแสดงเนื้อหาด้วยภาพ วัสดุ ตัวอักษร เพื่อให้ความรู้ใหม่ๆ ข้อมูลใหม่แก่ผู้ชม
และกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความสนใจที่จะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
ภารกิจกลุ่ม
สถานการณ์ปัญหา(Problem-based learning)
ในคาบเรียนนี้นักศึกษาได้รับหน้าที่ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวัสดุกราฟิก
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ที่คลินิก
รับปรึกษาปัญหาการผลิตสื่อ ซึ่งในวันนี้ก็มีคุณครู 5 คน เข้ามา
ปรึกษากับคุณ
ซึ่งประกอบด้วย
คุณครูแดน ต้องการนำเสนอเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์ตั้งแต่
2 สิ่งขึ้นไป และเนื้อหามีความ
เป็นนามธรรม
ซึ่งครูแดนต้องการให้นักเรียนได้ความคิดรวบยอด (Concept) ของเรื่องที่สอน และ
ช่วยในการสรุปเนื้อหาที่สอน
คุณครูรุท เป็น ครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์และในการสอนวันนี้ต้องการให้นักเรียนเข้าใจถึง
ระบบการท
างานของระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
คุณครูอั้ม เป็นครูฝ่ายวิชาการของโรงเรียน
ซึ่งจะต้องท าหน้าที่การสรุปสถิติจ านวน
นักเรียนทุกระดับชั้น(ม.1 - ม.6)
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกภาคการศึกษา เพื่อ
แสดงให้บุคลากรในโรงเรียนและบุคคลทั่วไปทราบ
คุณครูพอลล่า เป็นครูที่สอนในระดับอนุบาล
ซึ่งต้องการเร้าความสนใจของนักเรียนให้
นักเรียนเกิดความสนุกสนานและเกิดจินตนาการ
คุณครูศรราม เป็นครูฝ่ายปกครอง
ซึ่งต้องการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักเรียนหันมา
เล่นกีฬา
และให้นักเรียนห่างไกลยาเสพย์ติด
ภารกิจ
1. เลือกสื่อวัสดุกราฟิกที่เหมาะสมการลักษณะความต้องการของคุณครูแต่ละคน
พร้อม
อธิบายเหตุผลในการเลือกและคุณลักษณะของวัสดุกราฟิกที่สำคัญที่เลือกใช้
คุณครูแดน ต้องการนำเสนอเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์ตั้งแต่
2 สิ่งขึ้นไป และเนื้อหามีความ
เป็นนามธรรม
ซึ่งครูแดนต้องการให้นักเรียนได้ความคิดรวบยอด (Concept) ของเรื่องที่สอน และ
ช่วยในการสรุปเนื้อหาที่สอน
วัสดุกราฟฟิกที่เหมาะสมกับความต้องการของครูแดนก็คือ
แผนภูมิ โดยแผนภูมิที่ครูแดนควรเลือกใช้ก็คือ แผนภูมิตาราง
เพราะ
แผนภูมิสามารถแสดงเนื้อหาที่เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
ทำให้ง่ายต่อการอธิบาย
นอกจากนี้ครูแดนยังสามารถนำแผนภูมิมาใช้เพื่อสรุป/ทบทวนเนื้อหาได้อีกด้วย
ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ความคิดรวบยิดที่กระชับและเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย
คุณครูรุท เป็น
ครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์และในการสอนวันนี้ต้องการให้นักเรียนเข้าใจถึง
ระบบการทำงานของระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
วัสดุกราฟฟิกที่เหมาะกับความต้องการของครูรุทก็คือ
แผนภาพ เพราะสามารถแสดงถึงภาพ/เค้าโครงของวัตถุต่างๆได้ดี
และทำให้เห็นส่วนประกอบได้ง่าย
โดยครูรุทสามารถนำแผนภาพโครงร่างของคอมพิวเตอร์มาอธิบายส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ได้
และหากอยากเพิ่มความชัดเจนมากขึ้นก็สามารถนำรูปคอมพิวเตอร์จริงๆมาเปรียบเทียบได้
นอกจากนี้แผนภาพ ยังทำให้อธิบายการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ง่ายมากขึ้น
เพราะนักเรียนจะเห็นเส้นทางการทำงานของคอมพิวเตอร์ว่าเมื่อส่วนนี้ทำงานเสร็จจะส่งต่อไปยังส่วนใดต่อไป
คุณครูอั้ม เป็นครูฝ่ายวิชาการของโรงเรียน
ซึ่งจะต้องทำหน้าที่การสรุปสถิติจำนวน
นักเรียนทุกระดับชั้น(ม.1 - ม.6)
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกภาคการศึกษา เพื่อ
แสดงให้บุคลากรในโรงเรียนและบุคคลทั่วไปทราบ
วัสดุกราฟฟิกที่เหมาะกับความต้องการของครูอั้มก็คือ
แผนสถิติ เพราะแผนสถิติเหมาะกับการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหรือตัวเลขต่างๆ
ซึ่งสถิติจำนวนนักเรียนและสถิติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก็เป็นการเปรียบเทียบจำนวนเช่นกัน โดยหากครูอั้มต้องการใช้แผนสถิติเพื่อการนำเสนอ
ครูอั้มสามารถเลือกใช้แผนภูมิได้ 2 รูปแบบ คือ (1) เพื่อนำเสนอบุคลากร ควรใช้แผนสถิติแบบเส้น
เพราะสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างชัดเจนและถูกต้องมากที่สุด (2) เพื่อนำเสนอบุคคลทั่วไป ควรใช้แผนสถิติแบบแท่ง
เพราะสามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด
คุณครูพอลล่า เป็นครูที่สอนในระดับอนุบาล
ซึ่งต้องการเร้าความสนใจของนักเรียนให้
นักเรียนเกิดความสนุกสนานและเกิดจินตนาการ
วัสดุกราฟฟิกที่เหมาะกับความต้องการของครูพอลล่าก็คือ
การ์ตูน เพราะการ์ตูนสามารถถ่ายทอดเนื้อหาทั้งที่เป็นบทเรียนหรือเรื่องราวต่างๆให้มีความน่าสนใจ
ดึงดูดและเร้าให้ผู้เรียนสนใจในกิจกรรมนั้นๆ มีสนุกสนาน ไม่ทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย และยังทำให้ผุ้เรียนได้จินตนาการตามเรื่องราวที่ได้เห็นจากการ์ตูนอีกด้วย
ซึ่งการ์ตูนนั้นสามารถนำไปใช้ได้ทุกระดับชั้น รวมถึงชั้นอนุบาลด้วย
คุณครูศรราม เป็นครูฝ่ายปกครอง
ซึ่งต้องการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักเรียนหันมา
เล่นกีฬา
และให้นักเรียนห่างไกลยาเสพย์ติด
วัสดุกราฟฟิกที่เหมาะกับความต้องการของครูศรรามก็คือ
ภาพโฆษณา เพราะภาพโฆษณามีลักษณะที่เข้าใจง่าย
และสื่อความหมายได้ทันที คือมองเห็นแล้วเข้าใจได้เลย
อีกทั้งยังมีความดึงดูดสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้ผู้พบเห็นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ตามจุดประสงค์ของโฆษณา (ในกรณีของครูศรรามก็คือ
เชิญชวนให้นักเรียนเล่นกีฬาและห่างไกลยาเสพติด)
ทั้งนี้ครูศรรามต้องออกแบบภาพโฆษณาให้เหมาะสม มีการจัดองค์ประกอบที่ลงตัว
และเหมาะสมทั้งขนาดตัวอักษรและรูปภาพ ข้อความและรูปภาพต้องสัมพันธ์กัน
ข้อความต้องสั้นและกระชับ เพื่อให้ผู้ที่พบสามารถเข้าใจได้ทันที
2. ออกแบบการนำเสนอข้อมูล โดยใช้คุณลักษณะของวัสดุกราฟิกที่สอดคล้องกับ
เนื้อหาวิชาในสาระการเรียนรู้วิชาเอกของคุณ
ตัวอย่างการออกแบบ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
โดยวัสดุกราฟฟิกที่ใช้ก็คือ แผนภาพและการ์ตูน ซึ่งจะใช้การ์ตูนในการเข้าสู่เนื้อหาและดำเนินเรื่อง
เพราะสามารถดึงดูดและเร้าให้นักเรียนสนใจในกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นได้ โดยให้ตัวการ์ตูนเป็นคนเจอสถานการณ์ปัญหาแล้วให้นักเรียนแก้ปัญหาให้กับตัวการ์ตูนอตัวอย่างสถานการณ์ปัญหา
เช่น รูปทรงที่กลิ้งได้มีอะไรบ้าง และเราเรียกรูปทรงแบบนั้นว่าอะไร และเมื่อหาวิธีการแก้ปัญหาแล้ว
ก็จะให้ตัวการ์ตูนเป็นคนสรุปบทเรียนร่วมกับนักเรียน และใช้แผนภาพในการอธิบายรูปร่างและส่วนประกอบต่างๆของรูปร่าง
เพราะแผนภาพจะแสดงถึงเค้าโครงได้ดี
และใช้รูปภาพจริงประกอบกับรูปเค้าโครงเพื่อจะทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
เรียบเรียงโดย วิจิตรา เทศประสิทธิ์
563050133-3
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
ตอบลบ